วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ส 3 สรุปผล (Result)

Pattern บรรจุภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าว
ฝากล่องแบบ 1

แบบกล่องแบบที่ 1

แบบที่ 2



รูปผลิตภัณฑ์สำเร็จ


ส 2 Resume (สมมติฐาน)




ออกแบบโครงร่างบรรจุภัณฑ์โดยการสเก็ตหยาบ

สเก็ตโลโก้น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
โดยเปลี่ยนชื่อแบรนด์จาก ไผ่ริมแคว เป็น ตาลริมแคว เนื่องจาก แบรนด์ ไผ่ริมแคว ยังไม่สื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็น น้ำตาลมะพร้าวอยู่ จึงเพิ่มคำว่าตาลขึ้นมา และตัดคำว่า ไผ่ ไป แต่ยังคงคำว่าริมแควไว้เพื่อสื่อถึงสถานที่ผลิต คือ จังหวัด กาญจนบุรี ที่มีแม่น้ำแควไหลผ่าน


การขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์แบบ 3 มิติ

การออกแบบโลโก้ แบรนด์ ตาลริมแคว




สืบค้น 1

การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำตาลมะพร้าว



น้ำตาลมะพร้าว คือน้ำตาลที่ผลิตมาจากน้ำตาลที่ไหลจากงวงมะพร้าว การผลิตน้ำตาลมะพร้าวนั้นมีความพิถีพิถันมาก การขึ้นไปรองน้ำตาลสดนั้นต้องเริ่มแต่เช้ามืดและขึ้นเก็บวันละนับร้อยต้น เพื่อให้ได้น้ำตาลสดเพียงพอในการผลิตน้ำตาลมะพร้าว เกษตรกรจะนำกระบอกรองน้ำตาลพร้อมกับมีดปาด งวงปีนขึ้นไปบนยอดของต้นมะพร้าว เพื่อนำกระบอกใส่น้ำตาลภายในบรรจุไม้เคี่ยมหรือไม้พะยอมซึ่งใส่ในปริมาณพอ ควรเพื่อป้องกันการบูดเน่าของน้ำตาลสด ปลดกระบอกรองตาลที่รองไว้ ตั้งแต่ ๔ โมงเย็นออก จากนั้นหยิบมีดปาดงวงมะพร้าวใหม่แล้วนำกระบอกรองตาลใบใหม่ผูกติดกับงวงเพื่อ รองน้ำตาลที่ไหลออกมาจากรอยที่ปาดไว้ น้ำตาลสดที่รองได้จะถูกนำมาเคี่ยวที่เตาตาล โดยมีการกรองเศษไม้และสิ่งสกปรกทิ้งก่อนเพื่อให้ได้น้ำตาลที่สะอาด น้ำตาลสดจะถูกเคี่ยวจนเดือด พอน้ำตาลเริ่มงวดจึงลดไฟ ยกกระทะลงจากเตา นำพายหรือขดลวดมาตีกระทุ้งเพื่อให้น้ำตาลแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้น และช่วยให้น้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจนมีสีน้ำตาล (เนื่องจากปฏิกิริยาสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลถูกความร้อน) เปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลขึ้นโดยอาศัยการแทนที่ของอากาศ กระทุ้งจนได้น้ำตาลสีขาวเหลืองน่ากิน น้ำตาลเริ่มแข็งตัวก็จะใช้เกรียงขูดออกจากกระทะ เทใส่ปี๊บ เรียกว่า "น้ำตาลปี๊บ" ถ้าเทลงใส่ถ้วยตะไลหรือพิมพ์ได้น้ำตาลที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ นิยมเรียกว่า "น้ำตาลปึก"




การศึกษาบรรจุภัณฑ์

1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า

ชื่อสินค้า : ไผ่ริมแคว
ประเภท : น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
ไม่ปรุงแต่งสถานะ : น้ำตาลมะพร้าว
วัสดุหลัก : ถุงพลาสติก
ผู้ผลิต : คุณแดง – เจ๊หนู
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ : เลขที่ 55 หมู่ 3 ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ส่วนประกอบของสินค้า : น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
2.โครงสร้างหลักของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ชั้นแรก กล่องพลาสติก หรือพลาสติกชนิด โพลิเอทีลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ แบบมีแคบซีนชนิดหดตัว
สีของวัสดุบรรจุ : ใส
ใช้สติ๊กเกอร์แปะเพื่อเป็นพื้นที่โฆษณา
3.การออกแบบกราฟิก
ภาพประกอบเป็นรูปมะพร้าว โลโก้ชื่อสินค้าเป็นตัวอักษรภาษาไทยสีขาวบนพื้นสีเขียว


1.คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ แบบพลาสติก ทรงกระบอกมีฝาปิด
2. คือ แคปซีล (cap seal) ปิดกล่องพลาสติก
3. คือ สีของสติ๊กเกอร์แบรนด์
4. คือ รูปต้นมะพร้าว
5. คือ ฟอนต์น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
6. คือ ฟอนต์แหล่งที่อยู่บรรจุภัณฑ์
7. คือ ฟอนต์คุณแดง-เจ๊หนู
8. คือ รูปมะพร้าว
9. คือ เลข 100%
10. คือ ฟอนต์ไผ่ริมแคว
11. คือ ฟอนต์ เจ้าแรกในกาญจนบุรีและเบอร์โทรศัพท์
12. คือ เครื่องหมาย มผช



วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Packaging Design : Idea Sketch
ภาพที่ 1 Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่

ภาพที่ 2 Logo Type Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่

ภาพที่ 3 Product Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj-FrGXQWNHwyGXbIzSYL-xqUosj5Zp1EUz8_5puaTsu1LJgpXxCC0VcEVcMfHgA919Ye9Vvga32uIhjbCAbkEz1-qHZXRvcJdeB1ZSrjWCGB2GyoOdwX7FpJuFQNZPUOC3hLkbz-pOZBRB/s800/IMG_9056.JPG


ภาพที่ 3 Product Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่

ภาพที่ 4 Product Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่

ภาพที่ 5  Product Sketch design
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiYgHHwmMhObROydVE29q38prjVdbP7DIrPRtPiBDuLP2_yAmIg3o0EyNAc8WttFtrjvgrZMCXpwQ7rmxJjZbnlJ8FZQC_07YnLcBZREbo36UNBnegcgIy5U-7na5LXjCT1hGqIM_UkbgLP/s800/IMG_9058.JPG



วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6 การติดตามผลการดำเนินงานกลุ่ม ขั้น ส.1- ส.2

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร ,2555 เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฏาคม 2555
เข้าถึงได้จากURL
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhuk9LAmSaqQHas_1Q4YrT-SeDDMJ5kc1U1ZRail9-0o4oPMBb7tcypH-AS0Q3Fv08GMOzLsQ3SGXu7gqsPsWcmwXPdAO-XD-APbflnlz4An6hbP5Vcu0CL-ihOJilvgtcX_lhBn0PKkFTN/s640/Product+and+Package+design+direction++3+R+framework.jpg
การเริ่มต้นทำงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ด้วยการกำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน(Design Direction or Framework) และการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทางการมองเห็น (Product's Package Visual Analysis) คุณทราบหรือไม่ว่า แต่ละเลขหมายที่กำกับไว้คืออะไร มีชื่อศัพท์เฉพาะว่าอย่างไร หากไม่ทราบควรเริ่มจากการใช้คำสำคัญค้นคือ ใช้ "4W2H" เป็นแนวทางเพื่อศึกษาหาองค์ความรู้ก่อน แล้วจะทราบคำตอบที่แน่ชัดว่างานที่ต้องทำหรือออกแบบนั้นคืออะไร

จะต้องเกี่ยวข้องกับการที่ต้องใช้องค์ความรู้ศาสตร์สาขาใด เครื่องมือและอุปกรณ์ในการคิด การสร้างสรรค์และการผลิตอย่้างไร ในสัปดาห์ที่ 6 นี้ ต้องมีคำตอบและแต่ละกลุ่มต้องนำเสนอแนวทางพัฒนา จากโจทย์ที่มอบหมายไปแล้ว

ภาพที่ 2 Product's Package Visual Analysis
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร ,2555 เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฏาคม 2555
เข้าถึงได้จากURL
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiJE7UVY-IGHCnqZwkU8HfCGP0V9CTwJUtYaVX2uQvQew7_OsP7KaNC8lPdB26DMtbaa9v8sVRv6c7rsAMQ5Gg3cRRizDxbRyfhcuv2a8COkJorXNAKDTe6d-Zie_0pTwnN5BIRrmqCaA4c/s640/Product+and+Package+Visual+Analysis+.jpg
Week 5 : การนำเสนอผลการศึกษาวิเคระห์ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น

ภาพที่ 1 แสดงผลงานนักศึกษา
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร ,2555 เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฏาคม 2555
เข้าถึงได้จากURL
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgTLMSqz22I6Tf95BdNq3KYM5O2D1n6hGge86gkfHDJIEnM3UyiaO3tS4IumeGYB4Zz3L6ZcJtQVhUIwFQu2tN3adGZOcc3VMAQIGfUFXi7tLP8fYIj_Cc5o-ImHfw9IuYBukOPgcsLEERm/s640/prachid-arti3314-week5-group102-12.jpg
ในสัปดาห์ที่ 5 นี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตามกระบวนการเรียนรู้แบบวิธีการเรียนรู้จากปัญหา(Problem Based Learning / Work Based Learning) หรือการทำงานจริงในสถานการณ์ที่เป็นจริง จากการที่ผู้สอนเป็นหัวหน้าทีมวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์โอทอป จังหวัดกาญจนบุรี ในนามของ บจก.เอซีที(ไทยแลนด์)โครงการของ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ตามโครงการการส่งเสริมการผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี จัดโดยบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ตามแบบฟอร์มและหัวข้อที่ตั้งให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาและตอบคำถามนำทางคือ 4W2H โดยให้แต่ละกลุ่ม(กลุ่มละ 4 คน แบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่มตามเลขที่นับจำนวนตามจำนวนกลุ่ม รวมกลุ่มเรียนละ 11 กลุ่ม ภาคนอกเวลา 6 กลุ่ม)

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ปฐมนิเทศวิชา สัปดาห์แรกของการเรียน week1-1-2555

สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2555 คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้แค่ 35 คนต่อกลุ่ม ปรากฏว่าล้นห้องต้องขยายเป็น 45 คนต่อกลุ่มลงทะเบียน และมีกลุ่ม ภาคนอกเวลาอีก 1 กลุ่ม ก็มีผู้เรียนร่วมร้อยกว่าคนที่แจ้งลงทะเบียนในระบบไว้ และแน่นอนครับเป็นการรวมรุ่นนับแต่รหัส 2550 เป็นต้นมา บางคนอาจารย์ก็คุ้นหน้ามากๆเลย แสดงว่าวิชานี้ฮอตมาก จนล้นไล่ให้ไปเรียนกับภาคนอกเวลา แต่ละกลุ่มก็เข้าเรียนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์  กลุ่มแรก 37/45 กลุ่มสอง 42/45 และนอกเวลาก็น้อยหน่อย แค่18/27  ตามตารางเรียนจันทร์-พุธที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ
     กิจกรรมในครั้งนี้ก็ตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย

1. การปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การสื่อสารส่วนบุคคลและการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Network System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฏิบัติการ การรับรู้และรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตรฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ
2. ให้ทำแบบสำรวจก่อนเรียน( เข้าทำ/ดูจากเมนูแบบสำรวจด้านบน) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 นี้
3. การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน

กระบวนการออกแบบ โดย ผศ ประชิด ทิณบุตร


อ้างอิงจาก ผศ ประชิด ทิณบุตร : 2555

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โครงการ ที เฟส 2


ที่มาของโครงการ
ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก

ที่มาจากhttp://www.tepclub.org



ออกแบบ FONT

โดย นายรัฐศักดิ์ เดชพันธ์
รหัสนักศึกษา 5311322720 กลุ่มเรียน101
E-mail : rattasak5311322720@gmail.com
Blog :
http://rattasak-arti3314.blogspot.com/ 
รายวิชา Arti3314  การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ 



ขั้นตอนการออกแบบ Font ชื่อฟร้อน "รัฐศักดิ์ / Rattasak"

1.ออกแบบ Font โดยการวาดมือ ลงบนกระดาษกราฟแล้วนำมาใช้

ที่มาของภาพ : รัฐศักดิ์ เดชพันธ์
2.ได้แบบสเก็ตแล้วนำภาพที่สกุลเป็น JPG. มาเปิดในโปรแกม Adobe Illustrator CS4 แล้วปรับ     แต่งรูปภาพตามที่ถนัด


ที่มาของภาพ : รัฐศักดิ์ เดชพันธ์ " Adobe Illustrator CS4"

3. ผลงานเสร็จสมบูรณ์
ที่มาของภาพ : รัฐศักดิ์ เดชพันธ์ " Adobe Illustrator CS4"


ผลงานสมบูรณ์ เสร็จเรียบร้อย