น้ำตาลมะพร้าว คือน้ำตาลที่ผลิตมาจากน้ำตาลที่ไหลจากงวงมะพร้าว การผลิตน้ำตาลมะพร้าวนั้นมีความพิถีพิถันมาก การขึ้นไปรองน้ำตาลสดนั้นต้องเริ่มแต่เช้ามืดและขึ้นเก็บวันละนับร้อยต้น เพื่อให้ได้น้ำตาลสดเพียงพอในการผลิตน้ำตาลมะพร้าว เกษตรกรจะนำกระบอกรองน้ำตาลพร้อมกับมีดปาด งวงปีนขึ้นไปบนยอดของต้นมะพร้าว เพื่อนำกระบอกใส่น้ำตาลภายในบรรจุไม้เคี่ยมหรือไม้พะยอมซึ่งใส่ในปริมาณพอ ควรเพื่อป้องกันการบูดเน่าของน้ำตาลสด ปลดกระบอกรองตาลที่รองไว้ ตั้งแต่ ๔ โมงเย็นออก จากนั้นหยิบมีดปาดงวงมะพร้าวใหม่แล้วนำกระบอกรองตาลใบใหม่ผูกติดกับงวงเพื่อ รองน้ำตาลที่ไหลออกมาจากรอยที่ปาดไว้ น้ำตาลสดที่รองได้จะถูกนำมาเคี่ยวที่เตาตาล โดยมีการกรองเศษไม้และสิ่งสกปรกทิ้งก่อนเพื่อให้ได้น้ำตาลที่สะอาด น้ำตาลสดจะถูกเคี่ยวจนเดือด พอน้ำตาลเริ่มงวดจึงลดไฟ ยกกระทะลงจากเตา นำพายหรือขดลวดมาตีกระทุ้งเพื่อให้น้ำตาลแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้น และช่วยให้น้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจนมีสีน้ำตาล (เนื่องจากปฏิกิริยาสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลถูกความร้อน) เปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลขึ้นโดยอาศัยการแทนที่ของอากาศ กระทุ้งจนได้น้ำตาลสีขาวเหลืองน่ากิน น้ำตาลเริ่มแข็งตัวก็จะใช้เกรียงขูดออกจากกระทะ เทใส่ปี๊บ เรียกว่า "น้ำตาลปี๊บ" ถ้าเทลงใส่ถ้วยตะไลหรือพิมพ์ได้น้ำตาลที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ นิยมเรียกว่า "น้ำตาลปึก"
ขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าวหอม
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
1. เริ่มจากเลือกงวงมะพร้าว ที่อยู่บนต้นมะพร้าวต้องเป็นงวงที่สมบรูณ์เพื่อที่จะนำมาทำน้ำตาลใสก่อนขั้นตอนแรก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
2. ปาดปลายของงวงมะพร้าวที่เลือก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
3.โน้มงวงมะพร้าวโดยเชือกมัดเพื่อให้งวงมะพร้าวผลิดน้ำใสไหลออกมาตามท่อของงวงที่เราโน้มใว้ได้สะดวก
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
4.นำกระบอกมารองรับน้ำตาลใสที่หยดออกมาตรามท่อของงวงมะพร้าวที่เราปาด
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
5.พอได้น้ำตาลสเราก็นำน้ำตาลใสมากรองขยะออก โดยใช้ผ้าขาวมากกรอง จากนั้นนำน้ำตาลใส ที่กรองได้มาเคี่ยวไฟที่มีอุณภูมิที่ร้อนจัด ขณะที่เคี่ยวต้องเติมน้ำตาลทรายลงไปด้วย
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
6.เมื่อเคี่ยวจนได้ที่แล้วก้อนำร้ำตาลมากรองเศษผงอีกรอบ แล้วนำมาเข้าเครื่องปั่นจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
7.นำน้ำตาลที่ปั่นแล้วมาหยอดใส่ภาชนะตามที่เราต้องการ
ที่มาของภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิดทิณบุตร
8.ปล่อยให้น้ำตาลเย็น แล้วนำออกจากภาชนะ และบรรจุใส่ถุงหรือบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและออกจำหน่ายต่อไป
การศึกษาบรรจุภัณฑ์
1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวสินค้า
ชื่อสินค้า : ไผ่ริมแคว
ประเภท : น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
ไม่ปรุงแต่งสถานะ : น้ำตาลมะพร้าว
วัสดุหลัก : ถุงพลาสติก
ผู้ผลิต : คุณแดง – เจ๊หนู
ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ : เลขที่ 55 หมู่ 3 ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ส่วนประกอบของสินค้า : น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100%
2.โครงสร้างหลักของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ชั้นแรก กล่องพลาสติก หรือพลาสติกชนิด โพลิเอทีลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ แบบมีแคบซีนชนิดหดตัว
สีของวัสดุบรรจุ : ใส
ใช้สติ๊กเกอร์แปะเพื่อเป็นพื้นที่โฆษณา
3.การออกแบบกราฟิก
ภาพประกอบเป็นรูปมะพร้าว โลโก้ชื่อสินค้าเป็นตัวอักษรภาษาไทยสีขาวบนพื้นสีเขียว
1.คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ แบบพลาสติก ทรงกระบอกมีฝาปิด
2. คือ แคปซีล (cap seal) ปิดกล่องพลาสติก
3. คือ สีของสติ๊กเกอร์แบรนด์
4. คือ รูปต้นมะพร้าว
5. คือ ฟอนต์น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
6. คือ ฟอนต์แหล่งที่อยู่บรรจุภัณฑ์
7. คือ ฟอนต์คุณแดง-เจ๊หนู
8. คือ รูปมะพร้าว
9. คือ เลข 100%
10. คือ ฟอนต์ไผ่ริมแคว
11. คือ ฟอนต์ เจ้าแรกในกาญจนบุรีและเบอร์โทรศัพท์
12. คือ เครื่องหมาย มผช
ภาพที่1 ภาพแสดงโครงสร้าง และส่วนประกอบทางกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์
สินค้า น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม100%ไผ่ริมแคว
ที่มา :รัฐศักดิ์ เดชพันธ์,2555 เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2555 เข้าถึงได้จากที่อยู่
https://lh6.googleusercontent.com/-zGOdXvcsnv8/UAZ_lJLzsQI/AAAAAAAAAG8/eDx4isuIYrs/s800/IMG_7246.JPG
ปัญหาทางด้านงานออกแบบและบรรจุภัณฑ์1. แบรนด์ “ ไผ่ริมแคว” ยังไม่แสดงให้รู้ถึงว่าผลิตภัณฑ์นั้นคืออะไร
2. โลโก้ยังไม่ได้มีการออกแบบ
3. ใช้เพียงฉลากสติกเกอร์วงกลมรีติดลงบรรจุภัณฑ์เท่านั้นโดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดจะเป็นการซื้อมาแล้วบรรจุเองเท่านั้น
4. เคยมีลูกค้าถามว่าน้ำตาลที่ได้ถุบแล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกว่ามันเป็นเศษของน้ำตาลรึเปล่า ปัญหาทางด้านงานออกแบบและบรรจุภัณฑ์1. แบรนด์ “ ไผ่ริมแคว” ยังไม่แสดงให้รู้ถึงว่าผลิตภัณฑ์นั้นคืออะไร
2. โลโก้ยังไม่ได้มีการออกแบบ
3. ใช้เพียงฉลากสติกเกอร์วงกลมรีติดลงบรรจุภัณฑ์เท่านั้นโดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดจะเป็นการซื้อมาแล้วบรรจุเองเท่านั้น
ความต้องการในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์
เขาต้องการให้สินค้าของเขา นั้น มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม มีชาวญี่ปุ่นเคยมาติดต่อให้เขาส่งออกกต่างประเทศ และส่วนหนึ่งต้องการให้ สินค้าของไผ่ริมแควนั้นขึ้นไปขายห้างสรรพสินค้า อยากได้สินค้าที่ตอนรับสู้สมาคมอาเซียน เรื่องแบรนด์นั้นขึ้นอยู่กับนักออกแบบว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ เรื่องของราคาต้นทุนนั้น เขาบอกว่าไม่ได้เป็นกังวล(แต่ถูกหน่อยก็ดี) ถ้าสินค้าที่ออกแบบสวยเขาพร้อมที่จะลงทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น